[เขียนเรื่อยเปื่อย] เขียนไว้นานแล้วค่ะ แต่ไม่ได้อัพซะทีเพราะออกแนวบ่นไร้สาระไม่เข้ากับเทศกาลงานแข่ง เหอๆๆๆ... ไหนๆ ก็ปิดซีซันละ ถึงเวลาจะบ่นต่อ,, ด้วยความที่ จขบ. เป็นโรคจิตเล็กๆ ชอบคิดเล็กคิดน้อยกับเรื่องชื่อ... (แบบว่าโดนเขียนชื่อผิดมาตลอดค่ะ) เลยพยายามชดเชยปมในใจด้วยการ "เรียกชื่อคนอื่นให้ถูกต้องอยู่เสมอ" และด้วยความบังเอิ๊ญญญ บังเอิญที่ว่า พ่อเด็กน้อยยอดขมองอิ่ม Hanyu นี่ก็ช่างมีนามที่เรียกขานยากซะจริง... 5 คนก็เรียกกันไป 5 อย่าง แล้วตกลงอันไหนที่ใช่เธอล่ะคะ? เลยอยากนำเสนอโพสต์นี้ค่ะ
จขบ. รู้จักน้องเมื่อซีซั่น 2013-2014 ช่วงโอลิมปิกที่โซชิพอดีค่ะ ตอนนั้นจำได้ว่าดูช่อง Fuji TV อยู่ (ไม่ได้ฟังภาษาญี่ปุ่นรู้เรื่องแต่อย่างใดค่ะ เน้นมโน หลอกตัวเองไปขำๆ เผื่อสักวันจะรู้เรื่องจริงๆ กะเค้าบ้าง) เห็นเด็กเสื้อฟ้าฟรุ้งฟริ้งไสนำแข็ง ไถไปไถมาผ่านตาแว่บๆ ก็แบบ,, อุ๊ต่ะ... จิ้มลิ้มน่ารักอ่ะ ก็พยายามจะฟังค่ะว่า นักข่าวเรียกน้องว่าอะไร แต่อย่างที่บอก... ฟังไม่รู้เรื่องนี่คะ แล้วจะรู้ได้ไงว่าประโยคไหนคือชื่อ? คันจิสี่ตัวนี่ก็อ่านไม่ออก แต่นับว่า Fuji TV ยังกรุณาติ่งตาดำๆ อยู่บ้าง ด้วยการให้สิ่งนี้มา...
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ในการแข่งขันนอกประเทศญี่ปุ่นหลายๆ ครั้งเราก็จะได้ยินเสียงประกาศกันจนติดหูล่ะคะ ว่า "ยูซูรุ ฮานยู เจแปนนนนน"อันนั้นก็ปล่อยเค้าค่ะ เข้าใจว่าโซนอเมริกา/ยุโรปเค้าออกเสียงควบลำบาก ประเทศฝรั่งเศสยิ่งแล้วใหญ่ ตัว H ไม่ออกเสียง -AN อ่านว่า ออง เลยเป็น "อองยู" อีกแน่ะ เพลียจริงอะไรจริง... แถมค่ะ,, แถมยังมีประเทศพิเศษ ที่จะไม่ออกเสียงชื่อน้องตามทั้งหมดที่กล่าวมา เพราะเค้ามีคำเรียกเป็นของตัวเอง ทำไมล่ะคะ? ก็ญี่ปุ่นไปยืมตัวหนังสือของเค้ามาเป็นตัวคันจินี่ค่ะ ถูกต้องค่ะ ประเทศจีน... พอกลับมา (แข่ง) ที่ประเทศต้นกำเนิดอักษร เค้าเลยเรียกน้องตามคำอ่านบ้านเค้าเลยค่ะ ว่า "ยู่เชิง เจี๋ยเฉียน" (羽生結弦= Yǔshēng jié xián) แปลงทั้งนามสกุล ทั้งชื่อกลับเป็นภาษาจีนเสร็จสรรพ ตอนอยู่จีน (หรือประเทศที่ใช้ภาษาจีน) น้องเลยกลายเป็น "อาเฉียนของเจ้" ไปโดยปริยาย หุหุ
จบแล้วค่ะ แค่เรื่องชื่อและนามสกุล... ต้องรีบจบเพราะเดี๋ยวจะกลายเป็น blog ภาษาศาสตร์ไปซะก่อน จริงๆ แล้วจะเรียกว่าอะไรก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ อีกทั้งเจ้าตัวเค้าก็คงจะชินและขานรับทุกชื่อไปแล้ว ที่เขียนย๊าว ยาวก็ไม่ใช่ว่าต้องการให้ทุกคนเรียกเหมือนกันหมด มันก็เป็นไปไม่ได้ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์และภาษาศาสตร์น่ะค่ะ เชื่อแน่ๆ ว่าทุกคนที่รู้จักน้องจะต้องผ่านหูผ่านตามาหมดแล้วทุกชื่อ จขบ. แค่อยากอธิบายค่ะว่า ที่ตัวเองเรียกน้องว่า "ฮะนิว" น่ะมีที่มาอย่างนี้นะ... เปล่าเรียกเพราะความเก๋ ความเท่ (ตรงไหน?) นะ เพราะเรื่องชื่อแซ่ จขบ. จะไม่มโนเอาเองแน่ๆ (แล้วที่เรียกผิดไปหลายวันนี่คือร่ะ? มโนสินะ //เขกหัวตัวเองซะ แอร๊ยยย!)
ไหนๆ ก็พูดเรื่องชื่อแล้ว ไร้สาระก็เยอะ จึงขอจบอย่างเป็นการเป็นงานด้วยประโยคคลาสิกจากเรื่อง Romeo & Juliet ของ William Shakespeare ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงแปลไว้ ดังนี้ค่ะ
** ถึงแม้ว่า ความหมายที่แท้จริงของชื่อ ยุซุรุ 結弦 คือ "สายธนูที่ถูกดึงจนตึง" ก็ตาม (ห้าวหาญฝุดๆ)
ไม่ใช่แค่ นามสกุล ที่ลำบากคนไทย
แม้แต่ ชื่อ ในภาษาญี่ปุ่นเองก็ยังต้องมีฟุริกานะกำกับไว้บนคันจิเลย เอาซี๊... ธรรมดาซะที่ไหน
"HANYU YUZURU"
เด็กเสื้อฟ้า แบบนี้เลย...
โหววว์ ตัวเป้งขนาดนี้ ก็จัดเลยสิคะ.. -ฮันยู- แน่นอน แต่เดี๋ยว... ทำไมดูเกาหลีจุงเบย? ช่างมันค่ะ รีบโพสต์สเตตัสไปก่อนเลยว่าเนื้อคู่ชั้นมาเกิดละ อิอิ (นี่ถ้ามีกีฬามโนสากล จขบ. คงได้เหรียญทองโอลิมปิกเหมือนกัน) -ฮานยู- พอลากเสียงยาวแล้วยิ่งดูเกาลี๊ เกาหลีเข้าไปใหญ่ ไอ้เราก็ไม่ได้สนใจอะไรค่ะ จะรอเชียร์น้องหาญ... อย่างเดียว (แน่ะ ถือวิสาสะตั้งชื่อไท๊ย ไทยให้เค้าอีก) จนน้องแข่งรอบ Free ชนะ ได้เหรียญ วันต่อมาเลยมีข่าวพรึ่บพรั่บเต็มไปหมด เลยได้เจอการสะกด (นามสกุล) ที่วาไรตี้มากๆ "ฮันยู"มั่งล่ะ "ฮานยู" มั่งล่ะ "ฮานิว" มั่งล่ะ แล้วก็เจอ --ฮะนิว---
หืมมมม? อะไรนิวๆ นี่มายังไงกันคะ? แลดูเป็นฟิวชั่น ญี่ปุ่น + ฝรั่ง ชอบก๊ล... (หรือน้องเป็นอะไรกะฮะเก๋า? คิดปุ๊บหิวปั๊บเลย) ไม่รอช้า หันหน้าเข้าวิกิเป็นการด่วนเลยค่ะ อย่าให้ error มากไปกว่านี้ 555
หืมมมม? อะไรนิวๆ นี่มายังไงกันคะ? แลดูเป็นฟิวชั่น ญี่ปุ่น + ฝรั่ง ชอบก๊ล... (หรือน้องเป็นอะไรกะฮะเก๋า? คิดปุ๊บหิวปั๊บเลย) ไม่รอช้า หันหน้าเข้าวิกิเป็นการด่วนเลยค่ะ อย่าให้ error มากไปกว่านี้ 555
ขอบคุณข้อมูลจาก wiki
ด้วยความรู้งูๆ ปลาๆ พอจะอ่านฮิรากานะได้บ้าง จึงถอดเสียงออกมาได้ว่า はにゅう = は (ฮะ) に (นิ) ゅ (ยุ) う (อุ) อ่านแบบเร็วๆ รวบๆ ควบๆ มันก็เป็น ฮะนิว ล่ะค่ะ (สังเกตว่าอักษรญี่ปุ่นออกเสียงสั้น เลยเป็น ฮะ ไม่ใช่ ฮา //ถ้าจะ ฮา เสียงยาวเชิญศึกษาภาษาเกาหลีค่ะ)
แหม๊.... เรียกผิดมาหลายวัน เลยต้องบ๊าย บาย น้องหาญเลยค่ะ เพราะมันไม่ใช่ はんゆう (は-ha ん-n ゆ-yu う-u) = HAN -YUU แต่เป็น はにゅう = HA-NYUU ต่างหาก โธ่.... แค่นามสกุลก็มึนไปหลายตลบแล้ว นี่ยังไม่ได้เริ่มศึกษาฟิกเกอร์สเก็ตอย่างจริงจังเลยนะ (เดี๋ยวจะมึนกว่านี้อี๊ก)
แหม๊.... เรียกผิดมาหลายวัน เลยต้องบ๊าย บาย น้องหาญเลยค่ะ เพราะมันไม่ใช่ はんゆう (は-ha ん-n ゆ-yu う-u) = HAN -YUU แต่เป็น はにゅう = HA-NYUU ต่างหาก โธ่.... แค่นามสกุลก็มึนไปหลายตลบแล้ว นี่ยังไม่ได้เริ่มศึกษาฟิกเกอร์สเก็ตอย่างจริงจังเลยนะ (เดี๋ยวจะมึนกว่านี้อี๊ก)
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ในการแข่งขันนอกประเทศญี่ปุ่นหลายๆ ครั้งเราก็จะได้ยินเสียงประกาศกันจนติดหูล่ะคะ ว่า "ยูซูรุ ฮานยู เจแปนนนนน"อันนั้นก็ปล่อยเค้าค่ะ เข้าใจว่าโซนอเมริกา/ยุโรปเค้าออกเสียงควบลำบาก ประเทศฝรั่งเศสยิ่งแล้วใหญ่ ตัว H ไม่ออกเสียง -AN อ่านว่า ออง เลยเป็น "อองยู" อีกแน่ะ เพลียจริงอะไรจริง... แถมค่ะ,, แถมยังมีประเทศพิเศษ ที่จะไม่ออกเสียงชื่อน้องตามทั้งหมดที่กล่าวมา เพราะเค้ามีคำเรียกเป็นของตัวเอง ทำไมล่ะคะ? ก็ญี่ปุ่นไปยืมตัวหนังสือของเค้ามาเป็นตัวคันจินี่ค่ะ ถูกต้องค่ะ ประเทศจีน... พอกลับมา (แข่ง) ที่ประเทศต้นกำเนิดอักษร เค้าเลยเรียกน้องตามคำอ่านบ้านเค้าเลยค่ะ ว่า "ยู่เชิง เจี๋ยเฉียน" (羽生結弦= Yǔshēng jié xián) แปลงทั้งนามสกุล ทั้งชื่อกลับเป็นภาษาจีนเสร็จสรรพ ตอนอยู่จีน (หรือประเทศที่ใช้ภาษาจีน) น้องเลยกลายเป็น "อาเฉียนของเจ้" ไปโดยปริยาย หุหุ
คราวไปเยือนฝรั่งเศส, ฉายช่องอิตาลี นิวชื่อ "อองยู" / "อันยู"
คราวไปเยือนไต้หวัน นิวเป็น "ยู่เชิง"
จบแล้วค่ะ แค่เรื่องชื่อและนามสกุล... ต้องรีบจบเพราะเดี๋ยวจะกลายเป็น blog ภาษาศาสตร์ไปซะก่อน จริงๆ แล้วจะเรียกว่าอะไรก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ อีกทั้งเจ้าตัวเค้าก็คงจะชินและขานรับทุกชื่อไปแล้ว ที่เขียนย๊าว ยาวก็ไม่ใช่ว่าต้องการให้ทุกคนเรียกเหมือนกันหมด มันก็เป็นไปไม่ได้ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์และภาษาศาสตร์น่ะค่ะ เชื่อแน่ๆ ว่าทุกคนที่รู้จักน้องจะต้องผ่านหูผ่านตามาหมดแล้วทุกชื่อ จขบ. แค่อยากอธิบายค่ะว่า ที่ตัวเองเรียกน้องว่า "ฮะนิว" น่ะมีที่มาอย่างนี้นะ... เปล่าเรียกเพราะความเก๋ ความเท่ (ตรงไหน?) นะ เพราะเรื่องชื่อแซ่ จขบ. จะไม่มโนเอาเองแน่ๆ (แล้วที่เรียกผิดไปหลายวันนี่คือร่ะ? มโนสินะ //เขกหัวตัวเองซะ แอร๊ยยย!)
ไหนๆ ก็พูดเรื่องชื่อแล้ว ไร้สาระก็เยอะ จึงขอจบอย่างเป็นการเป็นงานด้วยประโยคคลาสิกจากเรื่อง Romeo & Juliet ของ William Shakespeare ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงแปลไว้ ดังนี้ค่ะ
"What's in a name?
That which we call a rose by any other name would smell as sweet."
นามนั้นสำคัญไฉน ที่เราเรียกกุหลาบนั้น...แม้เรียกว่าอย่างอื่นก็หอมรื่นอยู่เหมือนกัน
ไม่ว่าจะเรียกแบบไหน โรมิโอ (รึจูเลียต?) นิวก็ยังฟรุ้งฟริ้ง กุ๊งกิ๊งอยู่เหมือนเดิม จริงมั้ยคะ? อิอิ
** ถึงแม้ว่า ความหมายที่แท้จริงของชื่อ ยุซุรุ 結弦 คือ "สายธนูที่ถูกดึงจนตึง" ก็ตาม (ห้าวหาญฝุดๆ)
Sign up here with your email
ConversionConversion EmoticonEmoticon